โรคนิ้วล็อคคืออะไร ใครมีความเสี่ยงบ้าง

โรคนิ้วล็อคคืออะไร ใครมีความเสี่ยงบ้าง

ปัจจุบันโรคนิ้วล็อคจัดได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตที่พบได้ทั่วไปที่ใครก็เป็นได้ แม้อาการจะไม่ร้ายแรงแต่ส่งผลกระทบกับการปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวันได้อย่างมีนัยสำคัญ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคออฟฟิศซินโดรม ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงบ้างไปดูกัน

โรคนิ้วล็อค เป็นอาการที่นิ้วมือถูกล็อคไว้ไม่สามารถยืดเหยียดตรงได้ตามปกติ เกิดขึ้นบริเวณปลอกเอ็นตรงข้อโคนนิ้วมือหนาตัวขึ้น เอ็นบวม ปลอกรัดเอ็นบีบรัดมากขึ้น ทำให้มีอาการปวด และยึดข้อนิ้วจนไม่สามารถเหยียดตึงได้ตามปกติ ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงวัยกลางคนอายุช่วง 40-50 ปี โดยแบ่งอาการออกเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว เมื่อลองหงายมือแล้วกดบริเวณโคนนิ้วจะปวด และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือ

ระยะที่ 2 อาการปวดเพิ่มมากขึ้น เริ่มรู้สึกสะดุด เหยียดนิ้วได้ยากไม่ลื่นไหลตามปกติ บางครั้งต้องฝืนดีดนิ้วออก เป็น ๆ หาย ๆ

ระยะที่ 3 อาการปวดยังคงทวีเพิ่มขึ้น เกิดอาการยึดล็อคไม่สามารถเหยียดนิ้วมือด้วยมือข้างเดียวได้ ต้องใช้อีกมือช่วยแกะออก ขณะแกะจะปวดมากขึ้น

ระยะที่ 4 มีอาการบวม อักเสบ นิ้วมืองอล็อคติดไม่สามารถเหยียดออกเองได้ เมื่อใช้อีกมือพยายามแกะออกจะเจ็บปวดมาก ซึ่งไม่ควรปล่อยให้อาการถึงระดับนี้จึงมาพบแพทย์

ใครที่มีความเสี่ยงกับโรคนิ้วล็อคบ้าง

กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่ต้องใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ที่มีการใช้นิ้วสัมผัสที่จะอยู่ในท่างอนิ้วมือต่อเนื่องนาน ๆ ทำให้ขาดการขยับเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามธรรมชาติ

กลุ่มคนทำงานที่ใช้งานมือและนิ้วมือหนัก ๆ เช่น พนักงานแปล ข่าวบอล ผ่านเว็บไซต์,คนที่ต้องหิ้วของหนัก ๆ,ชาวสวน,งานช่างไม้,ทันตแพทย์,นักกอล์ฟ,แม่บ้าน,งานที่ต้องจับต้องกับแรงสั่นสะเทือนโดยตรง,การซักผ้าด้วยมือ และอาชีพอื่นๆที่เน้นการใช้มือหนัก ๆ บ่อย ๆ ต่อเนื่องนาน ๆ

กลุ่มที่เป็นโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ได้แก่ โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ เบาหวาน โรคไต เป็นต้น

ในทุกวันที่เราใช้งานนิ้วมือหนักๆ ให้ใส่ใจบริหารนิ้วมือเป็นระยะ ๆ หรือแช่น้ำอุ่นพร้อมบริหารนิ้ว เพื่อช่วยให้ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อยังคงทำงานได้ตามปกติ หากพบอาการผิดปกติแม้แต่น้อยให้เร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้งานนิ้วมือ อาจต้องมีการปรับสลับหน้างานให้ได้พักนิ้วมือบ้าง หรือใช้อุปกรณ์ช่วยลดภาระนิ้วมือ การรู้ทันโรคเสียแต่เนิ่น ๆ ช่วยทำให้อาการไม่ไปต่อถึงระดับเป็นโรคที่ต้องเข้าร้บการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนอื่น รวมถึงสูญเสียงบประมาณในการรักษาด้วย