ทำความเข้าใจอาการแพ้นมวัวและแพ้น้ำตาลแลคโตส

ทำความเข้าใจอาการแพ้นมวัวและแพ้น้ำตาลแลคโตส

ทำความเข้าใจอาการแพ้นมวัวและแพ้น้ำตาลแลคโตส

เราอาจจะเคยได้ยินว่ามีคนดื่มนมวัวแล้วมีอาการท้องเสียท้องอืดอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่าเป็นอาการแพ้นมวัว ที่จริงแล้วนั่นอาจเป็นการแพ้น้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมวัว อาการนี้จะเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เราได้รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์มาให้ดูกัน ดังนี้

โดยปกติแล้วในนมวัวมีน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่เรียกว่า น้ำตาลแลคโตส เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหากับการดื่มนมวัวเพราะภายในลำไส้จะมีมีเอนไซม์สำหรับย่อยน้ำตาลชนิดนี้ ชื่อว่า เอนไซม์แลคเตส โดยจะย่อยน้ำตาลแลคโตสให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็กเดี่ยวที่ดูดซึมได้ 2 ชนิด ชื่อว่าน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลคโตส จึงไม่มีปัญหาท้องอืดท้องเสียหลังการดื่มนมวัว

แต่ผู้ที่มีอาการแพ้นมวัวอันมาจากการขาดเอนไซม์แลคเตส จะไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ เมื่อดื่มนมวัวเข้าไป จึงย่อยยากหรือย่อยไม่หมดและเกิดการตกค้างในลำไส้ แล้วเกิดแก๊สตามมา จนรู้สึกท้องอืดไม่สบายท้องและท้องเสียตามมา

ภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  1. ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่สู่ลูก
  2. เกิดจากมารดาที่ดื่มนมวัวมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์
  3. เกิดหลังจากมีภาวะติดเชื้อในลำไส้ เช่น เป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคลำไส้อักเสบแบบเรื้อรัง
  4. เกิดภายหลังจากการรักษาโรคบางอย่าง เช่น รักษามะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด หรือการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่อเนื่องเป็นเวลานาน

เมื่อคาดว่าคนในครอบครัวหรือตัวเองมีอาการแพ้นมวัวหรือแพ้น้ำตาลแลคโตส ทางที่ดีคือควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด เพราะอาการแพ้แลคโตสมีความคล้ายคลึงกับโรคในระบบทางเดินอาหารอีกหลายชนิด จึงควรตรวจให้ละเอียด โดยปัจจุบันทางการแพทย์แนะนำวิธีการลดปัญหาความรุนแรงจากการแพ้น้ำตาลแลคโตส โดยให้เริ่มจากการปรับลดปริมาณนมวัวที่ดื่ม ให้จิบเล็กน้อยก่อน เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับสมดุลในลำไส้ แต่ถ้าทดลองแล้วไม่สามารถดื่มได้ ให้เปลี่ยนชนิดนมคือ เลือกดื่มนมถั่วเหลืองแทน

กรณีที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสอย่างรุนแรง ต้องหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากนมวัวหรือนมแพะด้วย เช่น ชีส ไอศครีม เนยแข็ง และเมนูอาหารบางรายการ เช่น พิซซ่า ขนมปังที่มีนมวัว เนยและชีส เป็นต้น ในด้านการดูแลสุขภาพของผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตส ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มเติมเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน โดยแหล่งอาหารที่ให้แคลเซียมธรรมชาติในปริมาณสูง คือ ผักใบสีเขียวเข้ม คะน้า บรอกโคลี ถั่ว เมล็ดอัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ปลาเล็กปลาน้อยทอดกรอบ เป็นต้น

เราหวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจต้นเหตุของปัญหาแพ้นมวัวหรือแพ้น้ำตาลแลคโตสได้ดีขึ้น และลองนำเทคนิคแก้ปัญหาแพ้นมวัวไปใช้ เพื่อการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมต่อไป